พยาธิในเลือดของโคที่สำคัญในเมืองไทย เกิดจากปรสิตที่มีขนาดเล็กพวกสัตว์เซลล์เดียว มองไม่เห็นด้วยตา เปล่าพบได้ทั่วไปทุกภาคในเมืองไทย และมีพาหะนำโรคเป็นพวกแมลง หรือเห็บโรคพยาธิในเลือดส่วนใหญ่จะหมาย ความถึงเชื้อโปรโตซัวที่อยู่ในเลือด ไม่ได้รวมถึงหนอนพยาธิที่อยู่ในเส้นเลือด เช่น พยาธิใบไม้เลือด พยาธิในเลือดมักทำ ให้เกิดโรคที่มีความร้ายแรงกว่าพยาธิในทางเดินอาหารมาก แต่ความรุนแรงของโรคขึ้นกับพันธุ์สัตว์และเป็นความไวต่อโรคของสัตว์แต่ละตัวด้วย และโดยทั่วไปพยาธิในเลือดจะมีความรุนแรงในสัตว์อายุมาก มากกว่า สัตว์อายุน้อย ระบาดวิทยา เป็นโรคประจำถิ่นที่เกิดกับโคในประเทศไทย โดย เฉพาะในโคเลือดยุโรป (Bos taurus) จะมีความต้านทาน โรคน้อยกว่าโคเลือดอินเดีย (Bos indicus) และโคพื้นเมือง จะมีความต้านทานโรคมากที่สุด โคพื้นเมืองอาจจะป่วยด้วย โรคนี้ได้เมื่ออยู่ในภาวะ immunocompromise เช่น เครียดจากการขาดอาหาร การออกกำลังมากเกินไป การติดต่อ มีสัตว์ที่ดูดเลือดเป็นพาหะนำโรคแล้วแต่ชนิดของโรค ดังเช่น เห็บจะเป็นตัวนำโรคไข้เห็บ (Babesiosis) , เหลือบจะเป็นพาหะที่สำคัญของ Trypanosomiasis , แมลงวันคอกเป็นพาหะได้หลายโรค อาการ ระยะฟักตัวของโรคคือ 2-3 อาทิตย์ สัตว์มีอาการไข้ กระเพาะรูเม็นหยุดทำงาน ช่วงที่มีไข้เยื่อบุต่างๆ มีเลือดคั่ง แต่เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกมากขึ้น เยื่อบุจะซีดและมีอาการอื่น ร่วมด้วย
การตรวจวินิจฉัยโรคที่เกิดจากพยาธิในเลือด โดยการสังเกตอาการป่วยของสัตว์ เช่น อาจพบเยื่อบุ ช่องคลอดสีซีดจาง หรือเหลือง ซึ่งเป็นลักษณะของภาวะ โลหิตจาง หรือดีซ่าน ส่วนการวินิจฉัยที่แน่นอน ได้แก่ การ เจาะเลือดโคที่สงสัยไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ที่มา และ ภาพประกอบ : กลุ่มวิจัยและพัฒนาโคนม