เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคไข้เห็บโค โรคปัสสาวะแดง เกิดจากเชื้อบาบีเซียพบอยู่ในเม็ดเลือดแดงของโคที่เป็นโรค เชื้อที่สำคัญในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ 1. บาบีเซีย บัยเจมมินา (Babesia bigrmina) ขณะที่อยู่ในเม็ด เลือดแดงหลายลักษณะแต่ที่พบบ่อยเป็นรูปลูกแพร่คู่ทำมุมแหลม2. บาบีเซีย โบวิส (Babesia bovis) ขณะที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง มักทำมุมป้านและอาจมีรูปอื่นๆ เช่น รูปคล้ายวงแหวน โดยปกติจะพบ เชื้อในเม็ดเลือดได้น้อย ถึงแม้จะมีไข้สูงแต่จะพบได้มากเมื่อโคใกล้ตาย หรือตายแล้ว นอกจากนี้ยังพบเชื้อในอวัยวะอื่นๆ ได้ เช่น ไต หัวใจและสมอง
เชื้อนี้มีเห็บชื่อบูโอฟิลัส ไมโครพลัส (Boophilus microplus) ซึ่งเป็นเห็บโคชนิดที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย เป็นตัวนำโรค โดยเห็บที่มีเชื้อไปดูดเลือดแล้วปล่อยเชื้อเข้าสู่ตัวโค ทำให้ตัวนั้นป่วยและตายในที่สุด อาการ เมื่อโคได้รับเชื้อบาบีเซียเข้าไปจะมีไข้สูงกว่า 41 องศาเซนเซียส ไม่กินอาหาร กระเพาะหมักไม่ทำงาน หายใจ หอบเร็ว หัวใจเต้นแรง ในรายที่เป็นเฉียบพลันซึ่งพบมากในการติดเชื้อบาบีเซีย โบวิส โคมักจะตายภายใน 2-3 วันภายหลังแสดงอาการ ถ้าโคไม่ตายเม็ดเลือดแดงจะถูกทำลายมากถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เกิดโลหิตจาง สังเกตได้จากเยื่อเมือกที่ปากและตาซีด หายใจหอบ น้ำปัสสาวะมีสีเข้มมากขึ้นจนบางครั้งเกือบดำและมีดีซ่าน ในโคที่กำลังรีดนม น้ำนมจะลดน้อยลงจนเห็นได้ชัด ในสัตว์ที่ท้องอาจแท้งได้ อัตราการตายจะสูงในอากาศร้อน และมีอัตราการตายต่ำ ในสภาพอากาศเย็น สำหรับโคที่เป็นจากเชื้อบาบีเซีย โบวิส อัตราการคายจะสูงกว่าบาบีเซีย บัยเจมมินาและสัตว์อาจ แสดงอาการของระบบประสาทส่วนกลางให้เห็นได้ด้วย เช่น เดินโซเซ ชัก คอแหงนบิด หรือบ้าคลั่ง ไล่ชนคนหรือโค ที่อยู่ใกล้ การตรวจวินิจฉัยโรค ดูจากอาการและวัดอุณหภูมิร่างกาย เจาะเลือดทำฟิล์มบางๆ บนสไลด์ ย้อมด้วยสียิมซ่านำไปตรวจหาเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ส่องแสงส่องผ่าน กำลังขยาย 400-100 เท่า ในสัตว์ตายให้ใช้สไลด์ไปแต้มเลือดจากอวัยวะพวก ตับ หัวใจ ม้าม ไต และ สมองแล้วย้อมด้วยสียิมซ่า นำไปตรวจหาเชื้อต่อไป การรักษา เพื่อให้การรักษาได้ผลดี จะต้องเจาะเลือดมาตรวจหาเชื้ออย่างรวดเร็ว และต้องให้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงใน ทันที ยาที่ดีเมื่อให้แล้วสัตว์จะแสดงอาการดีขึ้นภายใน 2-3 ชั่วโมง หลังจากได้รับยาและเชื้อจะหายไปจากกระแสโลหิต ภายใน 24 ชั่วโมงยาที่ให้ผลดีในการรักษาโรคบาบีซีโอซิส ได้แก่ ขณะให้การรักษาโรคบาบีซิโอซิส ควรให้ยาบำรุงด้วย เพราะสัตว์ป่วยมักจะมีอาการโลหิตจาง อ่อนเพลียและบางครั้งมีอาการทางประสาทร่วมด้วย จึงควรระมัดระวังอย่าให้สัตว์ตื่นเต้นตกในหรือออกแรงมาก การบังคับโคที่เป็นโรครุนแรงอาจทำให้ตายได้ ถ้าเป็นไปได้ควรให้โคอยู่เดี่ยวๆ ในที่เย็นสบายมีน้ำและอาหารพร้อม เบเรนิล (Diminazine aceturate หรือ Berenil?) ขนาดที่ให้ 3.5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ อิมิโซล (Imidocarb dipropionate หรือ Imizoll?) ขนาดของยาที่ใช้ 1.2 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (ขนาด 1 ซีซี./น้ำ หนักสัตว์ 100 กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง การให้ยานี้ต้องระมัดระวัง ถ้าใช้เกินขนาดสัตว์จะมีอาการกล้ามเนื้อสั่น น้ำลายไหล ท้องอืด โคที่ใช้ยานี้ไม่ควรส่งเข้าโรงงานฆ่าสัตว์ภายใน 28 วัน) อะคาปริน (Auinuronium sulyate หรือ Acaprinl?) ขนาดยาที่ใช้ 1 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนังเท่านั้น ยานี้อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โคจะแสดงอาการ น้ำลายไหล เหงื่อออก ท้องเสีย อ่อนเพลีย การควบคุมและการป้องกัน ควบคุมเห็บ โดยใช้ยากำจัดเห็บพ่นบนตัวสัตว์และบริเวณคอก เช่น อะซุนโทล? เซฟวิน? เบอร์โคทอกซ์? ไอโวเม็ค? ใช้ยาบางชนิด เช่น อิมิโซล (Imizol?) ในขนาด 2 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะมีผลป้องกันโรคได้นาน 3-12 สัปดาห์ ทำวัคซีนให้แก่ลูกโคอายุน้อยกว่า 1 ปี โดยใช้วัคซีนที่พัฒนามาจากเชื้อที่พบจากแหล่งที่จะใช้ทำวัคซีน
(ยังไม่มีการใช้วัคซีนในประเทศไทย) ที่มา และ ภาพประกอบ : กลุ่มวิจัยและพัฒนาโคนม กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์