สาเหตุ เกิดจากเชื้อ อะนาพลาสมา มาร์จินาเล (Anaplasma marginale) และ อะบาพลาสมา เซนทรัลเล (Anaplasma Centrale) เชื้อที่พบจะเป็นจุดขนาดเล็กอยู่ที่ขอบหรือกลางเม็ดเลือดแดงเป็นเชื้อที่ทำให้โคนมตายมากที่สุดโรคหนึ่ง โรคนี้มีเห็บและแมลงดูดเลือดหลายชนิดเป็นพาหะโดยเฉพาะเหลือบ (Tabanus spp.) การถ่าย ทอดเชื้อเป็นแบบโดยตรง คือเชื้อออกจากเห็บหรือแมลงแล้วเข้าสู่ตัวโค อาการ โคที่เป็นโรคอาจมีอาการทั้งรุนแรงและแบบเรื้อรัง ส่วนมากโคที่พบเชื้อชนิดอะนาพลาสมา มาร์จินาเล มักจะ แสดงอาการรุนแรงกว่า อาการสำคัญคือ โคจะมีไข้สูง เยื่อเมือกซีด เบื่ออาหาร หายใจหอบ น้ำนมลด สัตว์ท้องอาจแท้งลูกได้ บางรายมีอาการดีซ่านร่วมด้วย น้ำปัสสาวะมีสีเหลืองคล้ายสีฟางข้าว สัตว์ป่วยที่มีอายุมากจะตายภายใน 1-4 วัน ถ้าเป็นชนิดรุนแรงในโคอายุน้อยอาจป่วยเป็นระยะเวลานาน สัตว์ตายจะพบวิการสำคัญ คือ ซากมี ลักษณะซีดมาก ผอมและขาดน้ำในถุงน้ำดีจะมีน้ำดีอยู่เต็ม และน้ำดี อาจกระจายไปทำให้เกิดสีเหลืองที่ไขมันและอวัยวะภายในช่องท้อง ม้ามขยายใหญ่ หัวใจมีจุดเลือดออก ต่อมน้ำเหลืองบริเวณตับจะมีสี น้ำตาล บวมและนิ่ม
การรักษา ยาที่ใช้ได้ผลคือ 1. เตทตราซัยคลิน (Tetracycline) ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด ขนาดที่ให้ 10 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม 2. อิมิโซล (Imizole?) ขนาดที่ให้ 1-2 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม 1. กำจัดเห็บและแมลงดูดเลือด 2. ควบคุมการเคลื่อนย้ายโรค 3. ให้วัคซีนที่เป็นเชื้อ อะนาพลาสมา เซนทรัลเล (Anaplasma centrale) ซึ่งไม่ทำให้เป็นโรครุนแรง ในโคอายุน้อย แต่จะให้ ความคุ้มโรคต่อเชื้อ อะนาพลาสมามาร์จินาเล (Anaplasma marginale) ด้วย
ที่มา และ ภาพประกอบ : กลุ่มวิจัยและพัฒนาโคนม กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์