สาเหตุและการติดต่อ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ชนิดที่พบในกระแสโลหิตของโคนมในประเทศไทย คือ ทริพพาโนโซมา อีแวนซาย (Trypanosoma evansi) เชื้อนี้จะพบอยู่นอกเม็ดเลือดแดง มีแมลงนี้ไปเกาะและดูดเลือดโค ก็จะปล่อยเชื้อเข้าสู่กระแสโลหิตอาการ โดยธรรมชาติโคนมไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็นเด่นชัดนอกจากซีดและผอม แต่ในรายที่เป็นรุนแรงจะมีไข้ ตาอักเสบหรือขุ่น ขาแข็ง หลังแข็ง คอบิด โลหิตจาง อาจตายอย่างเฉียบพลันได้ ในโคท้องจะแท้งลูกในช่วงตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป หรืออาจคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักลูกแรกคลอดต่ำ รกค้างในโครีดนมน้ำนมลด ส่วนในโคท้องว่างจะไม่ แสดงอาการเป็นสัดและอาจมีอาการทางประสาท เช่น เดิน ตื่นตระหนก กระโดด ดุร้าย ซึม เป็นอัมพาต การตรวจวินิจฉัย 1. ตรวจเลือดสด เจาะเลือดใส่สารกันเลือดแข็งตัว หยดเลือดบนสไลด์ ปิดด้วยคอพเวอร์กล๊าส ตรวจหาเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ 2. นำเลือดโคที่สงสัยเป็นโรค ทำฟิล์มเลือดบางๆ บนสไลด์ย้อมด้วยสียิมซ่า ตรวจดูเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ 3. นำเลือดโคมาฉีดเข้าช่องท้องหนูไมซ์ หลังจากนั้น 3-5 วัน ตัดหางหนู หยดเลือดบนสไลด์ ปิดด้วยคอพเวอร์กล๊าส ตรวจดูเชื้อด้วย กล้องจุลทรรศน์ การรักษา มียาหลายชนิดที่ใช้รักษาแล้วได้ผลดี และที่มีจำหน่ายในประเทศ คือ เบรานิล (Berenil?) ใชขนาด 3 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การควบคุมและป้องกัน 1. กำจัดแมลงนำโรคโดยการใช้ยาฆ่าแมลง แต่มีข้อเสียคือยาราคาแพงและต้องทำในพื้นที่กว้าง 2. ฉีดยาซาโมริน (Samorin?) ให้โคเพื่อป้องกันก่อนถึงฤดูฝนและเมื่อหมดฤดูฝน ในขนาด 0.5-1.0 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ 1 กิโลกรัม สามารถป้องกันโรคได้นาน 3-4 เดือน
ที่มา : กลุ่มวิจัยและพัฒนาโคนม กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์