การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยเชื่อกันว่าในระยะแรกของการเลี้ยง จะเลี้ยงกันในหมู่ชาวอินเดียเพื่อบริโภค หรือขายให้กับเพื่อนบ้านชาวอินเดียด้วยกัน พันธุ์โคนมที่เลี้ยงคือ พันธุ์บังกาลา สามารถให้นมได้ดีและช่วงของการให้นมนามมากกว่าโคพื้นเมืองทั้วไป หลังจากนั้นก็มีคนให้ความสนใจเลี้ยงกันบ้างเล็กน้อย จนกระทั้งได้มีการจัดตั้งฟาร์มโคนมเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ชื่อฟาร์มบางกอกแครี่ โดยมีพระยาเทพหัสดินเป็นผู้จัดการในเนื้อที่ทั้งหมด 9 ไร่ และมีโคทั้งหมดประมาณ 120 ตัว แต่ต้องประสบกับการขาดทุน เนื่องจากในขณะนั้นมีผู้บริโภคกันน้อยมาก นมที่ผลิตได้จึงขายไม่หมดจนต้องล้มเลิกกิจการไปในปี พ.ศ.2477
จนสงครามโลกครั้งที่2 รัฐบาลได้จัดตั้งองค์การขึ้นเพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับการผลิตน้ำนม ป้องกันปัญหาการขาดแคลนนมบริโภค โดยทำการรวบรวมโคนมจากชาวอินเดีย และ ได้ดำเนินการอยู่ระยะหนึ่งจึงล้มเลิกไปอีก และ เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมปศุสัตว์ และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการนำเข้าโคพันธ์เรดซินดิจากประเทศอินเดียมาผสมกับโคบังกาลา ในปี พ.ศ.2495มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้สั่งโคพันธ์เจอร์ซี่พันธุ์แท้เข้าประเทศไทย เป็นฝูงแรก โดยนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย และ โคพันธุ์บราวสวิส จากสหรัฐอเมริกา เมื่อถึงปี พ.ศ.2505 ได้มีการจัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบและส่งเสริมเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม และ เป็นแหล่งรับซื้อนมจากเกษตรกร โดยความช่วยเหลือและ ร่วมมือ ของรัฐบาลไทยและเดนมาร์กใน พ.ศ.2508 ประเทศเยอรมันได้ให้ความช่วยเหลือ โดยการจัดตั้งโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม ไทย เยอรมันขึ้นที่สถานีบำรุงพันธ์สัตว์ห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่
จากที่มีการเลี้ยงโคนมกันมากขึ้นก็ได้มีการจัดตั้งโครงการผสมเทียมเกิดขึ้นครั้งแรก โดยกรมปศุสัตว์ได้จัดตั้งสถานีผสมเทียมขึ้นที่ห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่และในภาคกลางตอนใต้ก็มีการตื่นตัวเลี้ยงโคนมกันมากขึ้น ได้มีการจัดตั้งสถานีผสมเทียมเป็นแห่งที่สองที่ตำยลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดย พ่อพันธุ์ที่ใช้เป็นพันธุ์บราวสวิสจากสหรัฐอเมริกา และ ได้จัดตั้งสหกรณ์หนองโพราชบุรีจำกัดขึ้นในเวลาต่อมา สำหรับในภาคใต้ ได้มีการเลี้ยงโคนมหลังจากภาคอื่นๆ ในช่วงปี พ.ศ. 2524-2525 ได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมขึ้นที่จังหวัดพัทลุง
เรียบเรียงโดย : farmthaionline.com ข้อมูลจาก : โครงการหนังสือเกษตรชุมชน (พยุงศักดิ์ มณีเนตร)ภาพประกอบจาก : อินเตอร์เน็ต