เนื่องจากปลาชนิดนี้มีศักยภาพสูงในการกินลูกน้ำยุง ทำให้ถูกนำไปปล่อยในเขตอบอุ่น และเขตร้อน ด้วยลักษณะคล้ายปลาหางนกยูง เกิดปุ๊ปกินยุงปั๊บและยังกินจุมาก โดยกินได้มากกว่าหลายร้อยตัวต่อวัน...ช่วงนี้ย่างเข้าฤดูฝน...บางพื้นที่อาจจะมีน้ำท่วมขังทำให้เกิดการเน่าเสีย และกลายเป็นแหล่งเพาะไข่ยุงมากมาย ที่น่ากลัวที่สุดก็คือ...ยุงลาย...เพราะมัน นำมาซึ่งไข้เลือดออกที่คร่าชีวิตมนุษย์
ผศ.ดร.บัญชา ทองมี และนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ใช้ "ชีววิธี" (Biocontrol) ในการกำจัดไข่ยุงป้องกันโรค ไข้เลือดออก โดยแนะนำให้เลี้ยง "ปลาแกมบูเซีย" ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากินยุง" ปลาชนิดนี้นอกจาก จะเป็นปลาสวยงามแล้ว ยังช่วยทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดไข่ยุง ซึ่งเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแบบประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย หลายชีวิต ขอนำเสนอประวัติชีวิตของ...ปลา แกมบูเซีย... Gambusia affinis เป็นปลาพื้นเมืองของ ทวีปอเมริกาเหนือ โดยมี ต้นกำเนิดอยู่ที่รัฐเท็กซัส เนื่องจากปลาชนิดนี้มีศักยภาพสูงในการกินลูก น้ำยุง จึงถูกนำไปแพร่พันธุ์ ในรัฐอื่นๆของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งในประเทศต่างๆ ทั้งที่ อยู่ในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ซึ่งก็ปรากฏว่าปลาแกมบูเซียสามารถปรับตัวเข้ากับบ้านใหม่ของมันได้เป็นอย่างดี
...ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ เมื่อโตเต็มที่อาจจะมี ขนาดยาวได้ถึง 3 นิ้ว ในขณะที่ปลา ตัวผู้มีขนาดยาวเพียง 1.5 นิ้ว ทั้ง ปลาตัวเมียและตัวผู้มีจุดสีเข้ม ซึ่งมักเห็นได้ชัดเจนเมื่อปลายังเล็ก ต่อเมื่อปลาโตขึ้นจุดดังกล่าวมักจางลง หากดูด้านข้างของปลาตัวเมียในที่สว่างจ้าจะเห็นสีเหลือบๆของสีเขียว สีฟ้า หรือสีเหลือง โดยปกติปลาแกมบูเซีย มีชีวิตไม่เกิน 12 เดือน แต่บางตัวก็ อาจอยู่ได้ถึง 15 เดือน เมื่อเกิดใหม่ๆ ลูกปลามีขนาดยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร และ สามารถกินลูกน้ำได้ทันที เปรียบได้ดังคำที่ว่า...เกิดปุ๊บก็กินปั๊บเลยทีเดียว...อีกทั้งยังเป็นปลาที่ กินอาหารจุมาก อาจกิน ลูกน้ำยุงได้หลายร้อยตัวต่อวัน พฤติกรรมนี้เองจึงชื่อว่า "ปลากินยุง" หรือ...จอมตะกละ...!!
นอกจากลูกน้ำยุงแล้ว ปลาแกมบูเซียยังกินแพลงก์ตอน (พืชและสัตว์ขนาดเล็กมากๆ), ตะไคร่น้ำ, ไดอะตอม (พืชเซลล์เดียว), ตัวอ่อนแมลงต่างๆ ส่วนแหล่งเพาะพันธุ์ สามารถมีชีวิตอยู่ได้ทั้งใน น้ำสะอาด และ น้ำสกปรก ในธรรมชาติจะพบได้ทั่วไปตาม ลำห้วย หนองน้ำ สระน้ำ และ อ่าง เก็บน้ำ
ผศ.ดร.บัญชา ทองมี บอกอีกว่า...ปลาชนิดนี้หลายคนอาจไม่รู้ว่าสามารถนำมาประกอบอาหารเป็นประเภทปลาทอดกรอบได้ แต่เนื่องจากมีสีสันที่สวยงาม รวมทั้งขนาดลำตัวที่ไม่ใหญ่มากนัก ผู้บริโภคจึงไม่นิยมนำมารับประทาน และปลาเหล่านี้จะออกรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง
...ขณะนี้ทาง มหาวิทยาลัยแม่โจ้...มุ่งขยายผลให้ หลายๆหน่วยงานทั้งในมหาวิทยาลัยและบ้านเรือนชุมชน หันมาใช้วิธีการเลี้ยงปลากินยุงเพื่อรักษาระบบนิเวศรอบตัวให้สอด คล้องกับการเป็น มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพทั้งสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชน ดังนั้น การเลี้ยงปลาแกมบูเซีย ไว้จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีฆ่า ยุงเหมือนเช่นในอดีต...
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการพ่อแม่พันธุ์ สามารถสอบถามได้ที่ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โทรศัพท์ 0-5387-3470 เวลาราชการ.
ไชยรัตน์ ส้มฉุน