การมองเห็น(Sight)
วิธีการล่าเหยื่อของแมว มีท่าทางการจ้องมองด้วยดวงตาทั้งสองข้างพร้อมทั้งการได้ยิน ของเสียงด้วยระบบการได้ยินของใบหูทั้งสองส่วนจัดสัมพันธ์กันเป็นองค์ประกอบด้านสื่อ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ได้ดีเป็นพิเศษ แต่แมวไม่สามารถที่จะแยกแยะในส่วนของสี ที่จะช่วยให้มันมองเห็นเป็นรูปร่างได้ทันที เนื่องจากหลังม่านกระจกแก้วตาแมวนั้นมีสิ่งกีดขวาง จึงไม่ช่วยให้แมวมองเห็นวัตถุได้อย่างใกล้ชิด
การที่ลูกนัยน์ตาแมวทั้งสองข้างมองเห็นได้นั้นเกิดจาก การควบคุมของระบบประสาทจึงทำให้มันมองเห็นภาพในระยะไกลได้ดีกว่าระยะใกล้ ลูกตาของแมวสามารถเคลื่อนมองได้กว้างถึง 205 องศา ทำให้แมวมองได้รอบทั่วบริเวณในที่แคบ ๆ ส่วนบริเวณพื้นที่กว้าง ๆ การเคลื่อนไหวของรูปร่างจะทำได้เพียงเล็กน้อยเนื่องจาก ระบบการมองเห็นที่ไม่อำนวยต่อมันนั่นเอง
การดมกลิ่น(Smell)
แมวได้ถูกพัฒนาความสามารถในระบบการรับรู้กลิ่นได้ดีเป็นอย่างยิ่ง สำหรับลูกแมวที่เกิดใหม่ ก่อนที่มันจะลืมตาได้นั้น มันจะใช้กลิ่นเป็นตัวนำเพื่อให้มันสามารถดูดนมแม่ได้ถึงแม้ว่าตายังไม่เปิด บริเวณหน้าผากของแมวจะมีต่อมผลิตกลิ่นพิเศษที่เรียกว่า สารฟีโรโมส์(Pheromose) เป็นกลิ่นเฉพาะของมัน การที่เราเห็นแมวชอบเอาศีรษะมาถูหรือสัมผัสกับคนเราหรือสิ่งของใด ๆ นั้น แสดงว่า มันได้ปล่อยกลิ่นของมันไว้ มันจึงแยกแยะรับรู้จากกลิ่นต่างๆที่เกิดขึ้นมาแล้วได้ การปล่อยกลิ่นไว้ในที่ต่าง ๆ ก็สามารถใช้แสดงความเป็นเจ้าของในสิ่งนั้นของมันได้ด้วย
แมวเป็นสัตว์ที่มีการรับรู้ที่ดี มันจะร่าเริงในช่วงที่อากาศอบอุ่นหรือได้รับไอแดด ซึ่งเป็นกลิ่นที่มันปรารถนา การที่เราเห็นแมวนั่งอยู่บริเวณประตูหรือหน้าต่างบ่อย ๆ ก็เพื่อสูดดมเอากลิ่นไอแดดมาปะทะเข้าจมูกมันนั่นเอง แต่กลิ่นที่ได้รับนั้นไม่สามารถกระตุ้นด้วยบริเวณจมูก แต่อากาศที่เข้าสู่จมูกจะถูกดึงดูดขึ้นไปตามท่อรูจมูกบริเวณศีรษะผ่านไปสู่ฟันกรามด้านบน แล้ววนไปสู่ระบบประสาทที่สามารถรับรู้กลิ่นได้ เป็นลักษณะเช่นเดียวกับการรับรู้กลิ่นของสัตว์ประเภทงู
การฟังหรือได้ยินเสียง(Hearing)
แมว สามารถรับฟังเสียงที่มีอัตราความถี่ประมาณ 30-45,000 Hertz โดยเป็นระยะทางกว้างไกลกว่าคนซึ่งได้ยินเพียง 2,000-5,000 Hertz หูของแมวจะมีสันโค้งเป็นจุดรวมการกรองของเสียงลักษณะใบหูจะมีขบวนการรับฟังเสียงที่มากระทบโสตประสาทบริเวณหูได้สูงมากในบริเวณ ต้นแหล่งของการเกิดเสียงสะท้อนแมวที่เราเลียงอยู่ในบ้านนั้นสามารถแยกเสียงฝีเท้าเดินของคนในบ้าน และคนแปลกหน้าที่เข้ามาในบ้านได้ด้วย
การสัมผัส(Touch)
แมวมักจะใช้อุ้งฝ่าเท้าส่วนหน้าในการจำแนกหรือวินิจฉัยวัตถุนั้นๆ โดยมีจมูกเป็นตัวกระตุ้น ที่สำคัญในการสัมผัส แมวสามารถมีแรงผลักดันของการรับรู้ในบริเวณช่วงขนที่ขึ้นยาว คือ หนวด คิ้ว และช่วงขนที่เป็นเส้นยาวบริเวณหลังอุ้งฝ่าเท้าคู่หน้า หนวดประเภทนี้จะช่วยให้มันทราบ ตำแหน่งที่ว่างของการรับรู้จากภายในตัวไปสู่บริเวณตำแหน่งของวัตถุได้ภายในไม่เกิน 1 นาที
ที่มา : sema.go.th และ kapook.comภาพประกอบ : อินเตอรืเน็ต