ปลาซิวข้างขวานเล็ก เป็นปลาน้ำจืดมี ถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อน ทั้งไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเกาะสุมาตรา ซึ่งประเทศไทยพบที่ภาคใต้และภาคตะวันออก โดยพบมากที่สุด คือ ที่อำเภอย่านตาขาว และอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จัดเป็น ปลาที่มีสีสันสวยงามมีสารพัดสีในตัว คือ บริเวณ ลำตัวซึ่งมีลักษณะแบนข้างจะเป็นสีน้ำตาลอมเขียว แต่จะมีช่วงกลางลำตัว เป็นสีน้ำตาลอมแดง ส่วนครีบหางเป็นสีส้ม หรือสีแดงอ่อน แต่ ลักษณะเด่นและเป็นที่มาของชื่อปลาซิวข้างขวาน นี้ คือ แถบสามเหลี่ยมสีดำเล็ก ๆ คล้ายรูปขวาน ตอนกลางลำตัวไปทางด้านหาง จัดเป็นปลาที่มีความสวยงามทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เพราะขายได้ราคา ดี เป็นที่ต้องการของตลาด และมีมูลค่าการส่งออกสูงขึ้นอย่างหต่อเนื่อง แต่ที่ผ่านมาปลาซิวข้างขวานเล็กที่จำหน่ายและส่งออกจะเป็นปลาที่จับได้จากธรรมชาติ เนื่องจากสามารถจับได้ง่าย ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม และบางพื้นที่ได้ทำการขุดลอกคลอง ทำให้แหล่งวางไข่ของปลาถูกทำลาย จึงเป็นเหตุให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง ล่าสุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร.วิมล จันทรโรทัย รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมง ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลทรัพยากรสัตว์น้ำให้คงอยู่ จึงมีนโยบายในการเพาะพันธุ์ปลา ซิวข้างขวานเล็กเพื่อปล่อยกลับคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ปลาชนิดนี้ไม่ ให้สูญพันธุ์ และพัฒนาการเลี้ยงให้เป็นปลาเศรษฐกิจส่งออกเพื่อทดแทนการจับจากธรรมชาติ โดยได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดตรัง ศึกษาและทดลองเพาะขยายพันธุ์กระทั่งประสบความสำเร็จและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง นายสันติชัย รังสิยาภิรมย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนา ประมงน้ำจืดตรัง เปิดเผยว่า ศูนย์ฯ ได้ทดลองเพาะพันธุ์ปลาซิวข้างขวานด้วยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ และสามารถอนุบาลลูกปลา โดยการใช้อาหารธรรมชาติมีชีวิต อาหารสำเร็จรูปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาสายพันธุ์จนมีสีสันสวยงามมากขึ้น
ทางด้าน นายสุชาติ ไกรสุรสีห์ นักวิชาการประมงชำนาญการ ผู้ทำการวิจัยในเรื่องนี้ ได้กล่าวว่า การเพาะพันธุ์ปลาซิวข้างขวานเล็ก มี 2 วิธี คือ 1) การเพาะพันธุ์ในตู้กระจก ขนาด 45x90x45 เซนติเมตร ระดับน้ำลึก 35 เซนติเมตร ใส่พ่อแม่พันธุ์อัตราส่วน 1:1 ตัวผู้ 3 ตัว ตัวเมีย 3 ตัว โดยจัดวัสดุให้เหมือนสภาพธรรมชาติ ปลูกพรรณไม้น้ำในตู้ให้มีจำนวนเหมาะสม ใช้ระบบน้ำหมุนเวียน ให้ไร แดงเป็นอาหาร วันละ 2 ครั้ง ส่วนวิธีที่ 2) เพาะพันธุ์ในบ่อซีเมนต์ ขนาด 1x2x1 ตารางเมตร ระดับน้ำลึก 50 เซนติเมตร โดยวิธีการเหมือนกับในตู้กระจก เพียงแต่ใส่พ่อแม่พันธุ์ อัตราส่วน 1:1 ตัวผู้ 10 ตัว ตัวเมีย 10 ตัว ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ เมื่อปลาวางไข่ติดกับพรรณไม้ น้ำหรือหินเกล็ด จะต้องนำพ่อแม่พันธุ์ออก เพื่อ ป้องกันพ่อแม่พันธุ์กินไข่หรือลูกตัวอ่อน ทั้งนี้ ในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์นั้น จะต้องมีลักษณะดี คือ อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 0.30-0.60 กรัม ไม่มีบาดแผลหรือเป็นโรค สำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจปลาสวยงาม หากหันมาเพาะพันธุ์ปลาซิวข้างขวานเอง หรือจำหน่ายปลาที่ได้จากการเพาะพันธุ์ เพื่อฟื้นฟูจำนวนปลาในธรรมชาติให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์เช่นเดิม ก็จะเป็นผลดีต่อวงการปลายสวยงามและระบบนิเวศของธรรมชาติได้ไม่น้อย ทั้งนี้ เกษตรกรหรือประชาชนที่สนใจจะเพาะเลี้ยงปลาซิวข้างขวานเล็ก สามารถติด ต่อขอคำแนะนำได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดตรังโทร. 0-7527-8164 ในวันและเวลา ราชการ.
ที่มา และ ภาพประกอบ : เดลินิวส์ออนไลน์