ชมรมผู้ผลิตมะพร้าวแห่งเอเชีย และแปซิฟิค (APCC) คัดเลือกให้ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัด ประชุม วิชาการ มะพร้าวนานาชาติ (COCOTECH) ครั้งที่ 44 โดยมอบหมายให้สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับเทศบาลตำบลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดงานดังกล่าวขึ้นภายใต้หัวข้อ นวัตกรรมมะพร้าวสำหรับการแข่งขันของอุตสาหกรรมมะพร้าวอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 5-9 กรกฎาคม นี้ ที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี การจัดงานมะพร้าวนานาชาติในครั้งนี้ นอกจากจะเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างนักบริหาร และนักวิชาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมมะพร้าว ทั้งภายในและต่างประเทศแล้วยัง ทำให้ทราบความ ก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพัฒนานวัตกรรมของอุตสาหกรรมมะพร้าวทั้งในด้านการผลิต การแปรรูปและการตลาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศผู้ผลิตมะพร้าวแห่งเอเชียและแปซิฟิก และช่วยให้อุตสาหกรรม มะพร้าวสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยประเทศสมาชิก APCC เข้าร่วมงานฯ จำนวน 15 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย ไทย ศรีลังกา ปาปัวนิวกินี โซโลมอน ฟิจิ ซามัว วานัวตู คีรีบัตต์ ไมโครนีเซีย มาเซลไอร์แลนด์ และ เวียดนาม ทั้งยังมีผู้ แทนองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ FAO, CIRAD และ Bioversity International เข้าร่วมประชุมด้วย คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว เกษตรกรและผู้สนใจเข้าร่วมชมงานไม่น้อยกว่า 5,000 คน
ช่วงที่จัดงานนี้นั้น เทศบาลตำบล เกาะสมุยยังได้กำหนดจัดงาน วันมะพร้าวชาวสมุย ขึ้นพร้อมกันด้วยซึ่ง จะทำให้งานมะพร้าวนานาชาติดูยิ่งใหญ่และคึกคักมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะงานโคโค่ไนท์ (COCO Night) คาดว่าจะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวบนเกาะสมุยให้มีสีสันเพิ่มขึ้น ในส่วนของกรมวิชาการเกษตรได้เตรียมจัดสัมมนาวิชา การเกี่ยวกับมะพร้าวที่น่าสนใจหลายหัว ข้อ อาทิ แนวทางการพัฒนาตลาดและอุตสาหกรรมมะพร้าวเพื่อการแข่งขัน, ความก้าวหน้าของการปรับปรุงสายพันธุ์มะพร้าว และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มะพร้าว พร้อมจัดเวทีพบปะระหว่างผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ทั้งยังมีการจัดแสดงนิทรรศการด้านนวัตกรรมมะพร้าว รวม ทั้งเทคโนโลยีการพัฒนาอุตสาหกรรมมะพร้าว ขณะเดียวกันกรมวิชาการเกษตรยังได้นำพันธุ์มะพร้าวที่วิจัยและพัฒนาพันธุ์สำเร็จ ไปโชว์ภายในงานไม่น้อยกว่า 10 พันธุ์ โดยมีทั้งมะพร้าวน้ำหอม และมะพร้าว กะทิน้ำหอม ปัจจุบันการผลิตมะพร้าวของไทย มีแนวโน้มลดลง เหลือพื้นที่ปลูกประมาณ 1.53 ล้านไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 1.48 ล้านตัน โดยผลผลิตและผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายในประเทศ ซึ่งตลาดกำลังมีความต้องการสูงโดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอม และมะพร้าวกะทิน้ำหอม ใน ขณะที่ปริมาณการผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น สำหรับการส่งออกมะพร้าวของ ไทย ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะการส่งออกกะทิสำเร็จรูปมีปริมาณการส่งออกปีละประมาณ 85,000-95,000 ตัน มีตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ รวมทั้งขณะนี้มีผลิตภัณฑ์มะพร้าวอีกชนิดที่ตลาดกำลังให้ความสนใจคือ น้ำมันมะพร้าว ซึ่งมีแนวโน้มการขยายตัวสูง.
ที่มา : เดลินิวส์ ออนไลน์