ในยุคที่ปัจจุบันด้านสุขภาพกำลังเป็นปัญหาใหญ่คุกคามคนไทยและมวลมนุษยชาติอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเชื้อโรคต่าง ๆ อันเกิดจากแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด จากที่มีอยู่นับแสนนับล้านชนิด รวมถึงการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ได้วิวัฒนาการตัวเองไปจนถึงขนาดที่กล่าวได้ว่า วิวัฒนาการทางด้านการแพทย์จะไล่ตามไม่ทัน อาทิ ไวรัส HIV ที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ หรือไวรัส H1 N1 ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่หน่วยงานภาครัฐของหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยกำลังหวาดวิตกอยู่ในขณะนี้ว่า อาจจะกลายพันธุ์หันมาเล่นงานมนุษยชาติในประเทศของตนและเกิดการแพร่ระบาดจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมทำลายชีวิตผู้คนจำนวนมากในอนาคตอันไม่ใกล้ไม่ไกลนี้ แต่สำหรับประเทศไทยนับว่าเรายังโชคดี ที่แม้วงการแพทย์แผนปัจจุบันทั่วโลกยังมืดมน ด้วยยังไม่อาจคิดค้นยารักษาโรคร้ายดังกล่าวให้หายขาดได้ หรือแม้แต่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอย่างได้ผลเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น เรายังมีวิถีการแพทย์แผนไทยที่พัฒนาจากตำรับตำรายาโบราณที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดทิ้งไว้ให้ได้ศึกษา ให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สมุนไพรหลายชนิดมาเป็นส่วนประกอบในการรักษา
โดย ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งกำลังเป็นความหวังของนักวิจัยทางเภสัชศาสตร์ว่าจะมีฤทธิ์สกัดยับยั้งหรือแม้แต่รักษาอาการเจ็บป่วยจากโรคร้ายหลายชนิด รวมทั้งโรคเอดส์และโรคไข้หวัดใหญ่ สายพันธุใหม่ 2009 ที่กล่าวถึงข้างต้นด้วย และนั้นคือสมุนไพร พลูคาว หรือ คาวตอง ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นทางภาคเหนือของประเทศไทย และยังพบในอีกหลายประเทศในภูมิภาคเดียวกัน เช่น ลาว เวียดนาม ฯลฯ สมุนไพรพลูคาว หรือคาวตอง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Houttuynia Cordata Thumb ได้รับการรับรองฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ว่าสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ถึง 5 ชนิดคือ มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งรังไข่ มะเร็งทางเดินอาหาร และมะเร็งทางเดินหายใจ หลังจากที่ได้ซุ่มทำการวิจัยและทดลองอยู่นานหลายปี จนถึงขั้น Clinical Trial หรือการทดลองในระดับคลินิกกับผู้ที่มีอาการป่วย ก่อนจะประกาศรับรองผลการวิจัยอย่างเป็นทางการเมื่อประมาณ 6 ปีมานี้ นอกจากนี้ ล่าสุดทางด้านนายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ก็ยังได้แถลงเมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า ได้ร่วมกับ รศ.ดร.นพ.กำพล ศรีวัฒนกุล ทำการวิจัยเชิงลึกถึงคุณสมบัติของสมุนไพรพลูคาว ว่ามีการทำงานอย่างไรถึงได้ออกฤทธิ์ในการสกัดยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียชนิดร้ายแรงได้เพื่อที่จะหาทางนำมาสกัดเป็นยารักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ต่อไป ซึ่งเท่ากับเป็นการต่อยอดผลการวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขก็ว่าได้ อย่างไรก็ดี ขณะที่ความตื่นตัวทางด้านภาครัฐในการค้นคว้าวิจัยสมุนไพรคาวตองกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อการพัฒนาทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพื่อให้บังเกิดสุขสูงสุดต่อประชาชนคนไทย และอาจรวมถึงมวลมนุษยชาติเพื่อนร่วมโลกด้วยนั้น ปรากฏว่า ทางด้านเอกชนไทยได้มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้มานานแล้ว ทั้งนี้จากการเปิดเผยของ ดร.ปพน ลิ้มธำรงกุล ประธานกรรมการ บริษัท คิงส์เฮิร์บ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ว่า ได้ร่วมกับนักวิจัยเอกชนขอผลการวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มาค้นคว้าและวิจัยต่อยอดจนกระทั่งสามารถสกัดจุลินทรีย์จากสมุนไพรพลูคาว ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ในตระกูล แลคโตบัลซิลลัส มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำสมุนไพรพลูคาว คอลดาต้า และนำออกจำหน่ายมานานถึง 4 ปีแล้ว ซึ่งปรากฏ ว่าได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของบริษัทนอกจากจะได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และเครื่องหมาย ฮาลาล จากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยแล้ว ยังได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต (GMP) และมาตรฐานความปลอดภัยถูกต้องตาม สุขลักษณะจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณาสุขด้วย ดร.ปพน ยังเปิดเผยด้วยว่า นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่หน่วยงานภาครัฐจะค้นคว้าวิจัยต่อยอดคุณสมบัติของสมุนไพรพลูคาว ซึ่งนอกจากจะเกิดประโยชน์ ทางการแพทย์แล้ว ยังเป็นผลดีต่อเกษตรกรโดยเฉพาะทางภาคเหนือที่ในอนาคตอาจปลูกพืชสมุนไพรชนิด นี้เป็นเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพได้อีกทางหนึ่งเพราะปัจจุบันทราบว่ามีหลายประเทศ ทั้ง ในตะวันออกกลาง ยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกากำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพลูคาวกันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการผลิตและการส่งออกเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ที่สำคัญสมุนไพรพลูคาวอาจจะสามารถ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในฐานะเป็นต้นกำเนิดสำหรับการรักษาโรคร้ายชนิดร้ายแรงชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะที่กล่าวข้างต้น ที่การแพทย์ ทั่วโลกยังไม่อาจคิดค้นหาตัวยาใด ๆ มาสกัดยับยั้งการแพร่ระบาดได้ ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้และนับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายและรอการพิสูจน์ต่อไปในอนาคต ดร.ปพน กล่าว.
ที่มา : เดลินิวส์ ออนไลน์