ขณะนี้ปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเกิดขึ้นในหลายจังหวัด โดยเฉพาะแหล่งปลูกข้าวในเขตชลประทานพื้นที่ ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร และพิษณุโลก ทั้งยังมีรายงานว่า พบการเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลค่อนข้างมากในพื้นที่จังหวัดนครนายกและปราจีนบุรีด้วย อย่างไรก็ตาม กรมส่งเสริมการเกษตรได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์แพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด
นายอนันต์ ลิลา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะเดียวกันยังได้ให้ ศูนย์บริหารศัตรูพืช 9 แห่ง เร่งสำรวจปริมาณ เชื้อราบิวเวอร์เรีย ที่มีอยู่ในสต๊อก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ระบาดนำไปใช้ควบคุมและป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยเน้นให้ใช้ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เป็นฐานในการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอร์เรียและเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดความรู้และแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรในพื้นที่แพร่ระบาดด้วย
นายอนันต์ กล่าวอีกว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนด มาตรการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว และชีพจักรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 3 ระยะ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาช่วยเหลือเกษตรกร โดย ระยะที่ 1 ข้าวระยะกล้า-แตกกอ หรืออายุ 0-35 วัน มักพบ การเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยชนิดปีกยาวอพยพเข้าแปลงนาเพื่อวางไข่ ดังนั้น เกษตรกรจึงควรสำรวจแปลงนา ถ้าพบตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลควรควบคุมโดยวิธีผสมผสาน คือ ใช้สารเคมีประเภทยับยั้งการลอกคราบฉีดพ่นตามคำแนะนำของทางราชการ เช่น สารบูโปเฟซิน (แอฟพลอด 10% WP หรือ 25% WP) หรือใช้สารสกัดจากสะเดาฉีดพ่นเพื่อยับยั้งการลอกคราบ กรณีที่มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง (ประมาณร้อยละ 50 ขึ้นไป) ให้พิจารณา ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียฉีดพ่น และระบายน้ำออกจากแปลงนาทิ้งไว้ 4 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้านาเพื่อปรับสภาพไม่ให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของศัตรูพืชชนิดนี้
ระยะที่ 2 ข้าวตั้งท้อง-ออกรวง (อายุ 60-90 วัน) มักพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวอ่อนรุ่นที่ 2 และตัวเต็มวัย เกษตรกรสามารถใช้วิธีควบคุมที่เหมาะสม ได้แก่ การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียฉีดพ่น หรือใช้สารสกัดจากสะเดาฉีดพ่นเพื่อยับยั้งการลอกคราบของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีการระบายน้ำออก-เข้าแปลงนาด้วย หากจำเป็นต้อง ใช้สารเคมีควรฉีดพ่นตามคำแนะนำ เช่น ไดโนทีฟูแรน (สตาร์เกิล 10% WP) สารไทอะมิโทแซม (แอคทารา 25% WP) และสารอีโทเฟนพรอกซ์ (ทรีบอน 10% EC) เป็นต้น สำหรับ ระยะที่ 3 ข้าวออกรวง- เก็บเกี่ยว (อายุ 90-120 วัน) ช่วงนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะสร้างปีก และตัวเต็มวัยจะอพยพออกจากแปลงนาไปตามลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อผสมพันธุ์ ซึ่งสามารถควบคุมโดยใช้วิธีกลและฟิสิกส์ อาทิ ใช้กับดักกาวเหนียวทาวัสดุ เช่น ใบตอง และถุงพลาสติก หรือใช้แสงไฟ (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ล่อให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาเล่นไฟ แล้วจับทำลายทิ้ง โดยทุกพื้นที่ควรรณรงค์ให้ดำเนินการควบคุม ป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
...นี่เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ น่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ลดน้อยลง.. ส่วนพื้นที่ที่ยัง ไม่พบการระบาดก็อย่านิ่งนอนใจ ศัตรูพืชตัวรายนี้อาจกำลังรุกคืบเข้าใกล้แปลงนาของท่าน ดังนั้น ควรเกาะติดสถานการณ์เอาไว้และเตรียมพร้อมรับมือ ก่อนทุกอย่างจะสายเกินแก้.
ขณะนี้ปัญหาการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเกิดขึ้นในหลายจังหวัด โดยเฉพาะแหล่งปลูกข้าวในเขตชลประทานพื้นที่ ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร และพิษณุโลก ทั้งยังมีรายงานว่า พบการเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลค่อนข้างมากในพื้นที่จังหวัดนครนายกและปราจีนบุรีด้วย อย่างไรก็ตาม กรมส่งเสริมการเกษตรได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์แพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด นายอนันต์ ลิลา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ขณะเดียวกันยังได้ให้ ศูนย์บริหารศัตรูพืช 9 แห่ง เร่งสำรวจปริมาณ เชื้อราบิวเวอร์เรีย ที่มีอยู่ในสต๊อก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ระบาดนำไปใช้ควบคุมและป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยเน้นให้ใช้ ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เป็นฐานในการผลิตขยายเชื้อราบิวเวอร์เรียและเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดความรู้และแก้ปัญหาให้แก่เกษตรกรในพื้นที่แพร่ระบาดด้วย นายอนันต์ กล่าวอีกว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนด มาตรการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตามระยะการเจริญเติบโตของข้าว และชีพจักรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 3 ระยะ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาช่วยเหลือเกษตรกร โดย ระยะที่ 1 ข้าวระยะกล้า-แตกกอ หรืออายุ 0-35 วัน มักพบ การเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยชนิดปีกยาวอพยพเข้าแปลงนาเพื่อวางไข่ ดังนั้น เกษตรกรจึงควรสำรวจแปลงนา ถ้าพบตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลควรควบคุมโดยวิธีผสมผสาน คือ ใช้สารเคมีประเภทยับยั้งการลอกคราบฉีดพ่นตามคำแนะนำของทางราชการ เช่น สารบูโปเฟซิน (แอฟพลอด 10% WP หรือ 25% WP) หรือใช้สารสกัดจากสะเดาฉีดพ่นเพื่อยับยั้งการลอกคราบ กรณีที่มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง (ประมาณร้อยละ 50 ขึ้นไป) ให้พิจารณา ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียฉีดพ่น และระบายน้ำออกจากแปลงนาทิ้งไว้ 4 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้านาเพื่อปรับสภาพไม่ให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของศัตรูพืชชนิดนี้ ระยะที่ 2 ข้าวตั้งท้อง-ออกรวง (อายุ 60-90 วัน) มักพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวอ่อนรุ่นที่ 2 และตัวเต็มวัย เกษตรกรสามารถใช้วิธีควบคุมที่เหมาะสม ได้แก่ การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียฉีดพ่น หรือใช้สารสกัดจากสะเดาฉีดพ่นเพื่อยับยั้งการลอกคราบของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีการระบายน้ำออก-เข้าแปลงนาด้วย หากจำเป็นต้อง ใช้สารเคมีควรฉีดพ่นตามคำแนะนำ เช่น ไดโนทีฟูแรน (สตาร์เกิล 10% WP) สารไทอะมิโทแซม (แอคทารา 25% WP) และสารอีโทเฟนพรอกซ์ (ทรีบอน 10% EC) เป็นต้น สำหรับ ระยะที่ 3 ข้าวออกรวง- เก็บเกี่ยว (อายุ 90-120 วัน) ช่วงนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะสร้างปีก และตัวเต็มวัยจะอพยพออกจากแปลงนาไปตามลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อผสมพันธุ์ ซึ่งสามารถควบคุมโดยใช้วิธีกลและฟิสิกส์ อาทิ ใช้กับดักกาวเหนียวทาวัสดุ เช่น ใบตอง และถุงพลาสติก หรือใช้แสงไฟ (หลอดฟลูออเรสเซนต์) ล่อให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาเล่นไฟ แล้วจับทำลายทิ้ง โดยทุกพื้นที่ควรรณรงค์ให้ดำเนินการควบคุม ป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ...นี่เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้ น่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ลดน้อยลง.. ส่วนพื้นที่ที่ยัง ไม่พบการระบาดก็อย่านิ่งนอนใจ ศัตรูพืชตัวรายนี้อาจกำลังรุกคืบเข้าใกล้แปลงนาของท่าน ดังนั้น ควรเกาะติดสถานการณ์เอาไว้และเตรียมพร้อมรับมือ ก่อนทุกอย่างจะสายเกินแก้.
ที่มา : เดลินิวส์ ออนไลน์